0

สูตรน้ำพริกเผารำข้าวสกัด

Posted by Gang of 4wd on 19:17 in
ข้าว1)น้ำพริกเผารำข้าวสกัดอีกหนึ่งเมนูคู่ครัวคุณอุดมด้วยคุณค่าทางอาหาร
ข้าว2)ลดคอเลสเตอรอล/ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มเติมข้อมูลwww.rakbankerd.com



เมื่อ วันที่ 16 มิถุนายน 2552 คุณอัศวิน สีแดง ผู้ใช้บริการ *1677 ได้แจ้งว่าตน เองสีข้าวเองและมีรำข้าวอยู่อยากทราบว่าจะนำมาประกอบอาหารได้หรือไม่ เพราะ เคยได้ยินว่ามีการทำน้ำพริกเผารำข้าวสกัด โดยทีมงานจึงค้นคว้าข้อมูลจนได้ สูตรน้ำพริกเผารำข้าวดังนี้



รสชาติไทย ๆ คงไว้ด้วยคุณค่าทางโภชนาการ



ข้าว ถือว่าเป็นอาหารหลักของคนไทย เพราะว่าเมืองไทยเป็นเมืองอู่ข้าวที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ประโยชน์ของข้าวมีมากมาย แต่ส่วนมากคนจะรู้จักข้าวตอนที่แปรรูปเป็นอาหารให้เรารับประทานแล้ว ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากผลผลิตจากข้าวมีไม่มาก จะทำมาจากข้าวที่ได้รับการสี โดยทุกส่วนของต้นข้าวสามารถนำมาแปรรูปได้ เช่น รวงข้าว รำข้าว



ด้วยเหตุนี้สามสาวจากรั้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ธัญบุรี ประกอบด้วย (น้ำแข็ง) น.ส.กีรติ จารุธรรมากร น.ส.ศิรินทรา มาลีบุตร (ออม) และ (แตงโม) น.ส.อรพรรณ โกมลมาลย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ได้คิดเมนู “น้ำพริกเผารำข้าวสกัด” ที่มีคุณค่าทางอาหารชวนให้ลอง โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์สิวลี ไทยถาวร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุจิตชญา จิตรวิมล อาจารย์ที่คอยให้การดูแลคำปรึกษาเมนูจานนี้



สามสาวผู้คิดเมนู เล่าว่า “น้ำพริกเผารำข้าวสกัด” เป็นเมนูสำหรับผู้ชอบรับประทานน้ำพริกเผาและรักสุขภาพควบคู่กันไป เพราะว่าในน้ำพริกจะมีส่วนผสมของรำข้าวสกัด รำข้าว คือ เยื่อสีน้ำตาลอ่อนที่ห่อหุ้มเมล็ดข้าวซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง รำข้าวที่นำมาเป็นส่วนผสมในครั้งนี้ คือ

รำข้าวสกัดน้ำมัน ซึ่งเป็นรำข้าวที่ผ่านกรรมวิธีการสกัดน้ำมันออกไป รำข้าวสกัดน้ำมันประกอบด้วยโปรตีน วิตามินและเส้นใยอาหาร ซึ่งรำข้าวสกัดจะมานำมาใส่เพื่อลดปริมาณของเนื้อกุ้งแห้ง ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง



ทางด้านน้ำมันที่ใช้ในการผัด ก็จะใช้น้ำมันรำข้าว ซึ่งในน้ำมันรำข้าว จะมีสารโอรีซานอล (Oryzanol) เป็นสารธรรมชาติที่สามารถต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าและมีประสิทธิภาพเหนือ กว่าวิตามิน E ทุกชนิดที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งและหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สารโอรีซานอลสามารถขจัดคอเลศเตอรอลที่ไม่ดี (LDL)ออกไปจากเซลล์และเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ที่มีผลทำให้น้ำหนักของร่างกายลดลง




ส่วนผสมของน้ำพริกเผารำข้าวสกัด ประกอบด้วย รำข้าวสกัด 3 ช้อนโต๊ะ พริกชี้ฟ้าแห้ง 2 ถ้วย หอมแดง 1 ½ ถ้วย กระเทียม 1 ¼ ถ้วย กุ้งแห้งป่น 1 ถ้วย กะปิ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ 2 ถ้วย น้ำมะขามเปียก ¾ ถ้วย น้ำปลา 1 ถ้วย น้ำมันรำข้าว 1 ¼ ถ้วย

สำหรับขั้นตอนกรรมวิธีในการทำ น้ำพริกเผารำข้าวสกัด เริ่มจาก

1. ผ่าพริกแห้งเอาเม็ดออก ล้างน้ำ ผึ่งแดดให้แห้ง

2. ปอกเปลือกหอมแดง กระเทียม ล้าง ซอยเป็นแว่น นำไปทอดให้เหลืองกรอบ โขลกให้ละเอียด

3. ทอดพริกให้เหลืองกรอบ นำไปโขลกละเอียด

4. นำกะปิไปเผาให้หอม (นำไปจี่ด้วยในตองบนกระทะ)

5. เคี่ยวน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา น้ำมะขามเปียก พอเหนียว ใส่กุ้งแห้งป่น พริก กระเทียม หอมแดงที่ได้โขลกไว้และกะปิ คนให้เข้ากันจนเดือด

6. เติมน้ำมันที่เหลือจากการเจียวหอมกระเทียม คนให้เข้ากัน ใส่รำข้าวสกัด

7. ยกลง พักให้เย็น บรรจุใส่ขวด ปิดฝา ถ้าตามสูตรที่ให้ไป จะได้น้ำพริกเผา 10 กระปุก


โดยคุณค่าทางโภชนาการของน้ำพริกเผารำข้าวสกัด 1 กระปุก (120 กรัม) ได้แก่ พลังงาน 535.66 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 68 กรัม โปรตีน 8.77 กรัม ไขมัน 25.45 กรัม แคลเซียม 273-43 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 157.49 มิลลิกรัม วิตามิน A 135.12 ไมโครกรัม วิตามิน B1 0.14 มิลลิกรัม วิตามิน B รวม 0.16 มิลลิกรัม และเส้นใยอาหาร


ผู้ที่สนใจ “น้ำพริกเผารำข้าวสกัด” เป็นของขวัญปีใหม่สามารถสั่งซื้อและสอบถามรายละเอียดเกี่ยวส่วนผสมและวิธี การทำได้ (แตงโม) 083-434-2616 หรือ (น้ำแข็ง) 087-322-1082 นะจ๊ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก:http://blog.eduzones.com/futurecareer/14698


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันจ.พิษณุโลก
อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

สูตรน้ำหมักผลไม้ฉีดนาข้าว

Posted by Gang of 4wd on 19:04 in
ข้าว(1)สูตรน้ำหมักผลไม้ฉีดนาข้าว กล้วยน้ำว้า มะละกอ ฟักทองอย่างละ1กก.
ข้าว(2)ลิโพ1ขวด ไข่3ฟอง น้ำมะพร้าว10ลิตรหน่อกล้วยสับ3กก.หมัก1อาทิตย์



เทคนิคในการบำรุง และเพิ่มผลผลิตให้กับข้าว เกษตรกรหลายท่านที่มี อาชีพทำนาคงจะอยากให้ข้าวในนาของตน อออรวงสวยและสมบูรณ์ รวมถึงเก็บเกี่ยว ได้ผลผลิตที่ดี ซึ่งแต่ละท่านอาจจะเลือกสูตรการบำรุงที่แตกต่างกันไป และ วันนี้ คุณลุงบุญส่ง อังคาลัย ก็มีเทคนิคดี ๆ ที่ช่วยในการบำรุงและ เพิ่มผลผลิตให้กับข้าว โดยเทคนิคและเคล็ดลับอยู่ที่การใช้น้ำมะพร้าวแทนน้ำ เปล่า ซึ่งมีวิธีการและรายละเอียดในการทำดังนี้



วิธีการทำน้ำหมักผลไม้
1. กล้วยน้ำว้าสุก 1 กิโลกรัม
2. มะละกอสุก 1 กิโลกรัม
3. ฟักทองสุก 1 กิโลกรัม
4. กลูโคส 100 cc (หรือลิโพ หรือ เอ็ม150 แทนก็ได้ 1 ขวด)
5. หน่อกล้วยหน่ออวบ ๆ สับละเอียด 1-3 กิโลกรัม (ต้นเล็กที่มีใบไม่เกิน 3 ใบ)
6. ไข่ 3 ฟอง (ทำให้แตกทั้งเปลือก)
7. น้ำมะพร้าว 10 ลิตร

วิธีการทำ
นำส่วนผสมทั้งหมดมาหมักรวมกัน ในถังทึบแสง ปิดฝาให้สนิท แล้วหมักไว้ระยะเวลา 1 อาทิตย์

วิธีการใช้
หลังจากหมักได้ที่แล้ว (จำนวน 1 อาทิตย์) ให้นำน้ำหมักที่ได้มากรองผ้าขาวบาง นำมาผสมน้ำในอัตรา น้ำหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นในนาข้าว ในช่วงเช้ามืด หรือ ช่วงเย็นพลบค่ำ (หลังจาก 5 โมงเย็น) โดยฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน (หรือ 7 วัน/ครั้ง ) จนข้าวออกรวง


ข้อมูลโดย : คุณลุงบุญส่ง อังคาลัย เกษตรกรผู้ทำเกษตรผสมผสาน ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี
ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ. สระบุรี
อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

ใช้พริกไทยเม็ดไล่แมลงสาบในบ้าน

Posted by Gang of 4wd on 08:45 in
แมลง1)ไล่แมลงสาบ หนู ยุง ตามจุดอับตามห้องด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบง่ายๆ
แมลง2)ใช้พริกไทยเม็ดประมาณ 4-5 เม็ด วางตามมุมแค่นี้ก็แก้ปัญหาได้ครับ






การกำจัดแมลงสาบ ในบ้านที่มักจะอยู่ตามครัว ตู้ โต๊ะ หรือตามซอกตามมุมต่างๆ เขาบอกว่าวิธีที่ได้ ผลและง่ายแสนง่าย แต่คนมักไม่ทราบหรือคิดไม่ถึง นั่นก็คือใช้ " พริกไทยเม็ด " ไปวางตามจุดต่างๆ ที่แมลงสาบชอบออกมาไต่ยั้วเยี้ย หรือแอบมากินเศษอาหาร โดยวางไว้ที่ละ 4-5 เม็ดก็พอ แค่นี้ แมลงสาบได้กลิ่นก็ไม่มารบกวนแล้ว เพราะมันไม่ถูกกับกลิ่นพริกไทยเม็ด ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงให้เสียเงิน หรือเป็นอันตรายต่อคนในบ้าน พอกลิ่นหมด ก็คอยเปลี่ยนใหม่ ข้อสำคัญ ระวังเด็กเล็กในบ้านอย่าคลานไปกินเข้า จะร้องไห้เพราะความเผ็ดค่ะ



แหล่งข้อมูล : คุณสมบัติ นุชบ้านป่า อยู่บ้านเลขที่ 23/2 หมู่ 10 ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระทุ่ม
จ.พิษณุโลก
ที่มา : ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ. พิษณุโลก
อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

วิธีทำเหยื่อตกปลาจากเส้นก๋วยเตี๋ยว

Posted by Gang of 4wd on 22:14 in
การหาปลาตามธรรมชาตินั้น ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป
นายอรุพล กาญจนาวิล เกษตรกรชาวสวนผลไม้ซึ่งมีอาชีพทำสวนเป็นหลัก และจับปลา ขายเป็นอาชีพเสริม แต่มีเคล็ดลับที่น่าสนใจ ในการจับปลา วันนี้จึงมีหนึ่ง เคล็ดลับการจับปลามาฝากเพื่อนเกษตรกรนั่นคือการ ทำเหยื่อตกปลาสูตรเส้น ก๋วยเตี๋ยว ซึ่งใช้ได้ผลดี




วัสดุอุปกรณ์
- เส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 3 ขีด
- รำละเอียด 1 กิโลกรัม
- เศษขนมปัง 1 กิโลกรัม
- หัวเชื้อนมแมว 2 ฝาขวด
- นมข้นหวาน 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำเปล่า
- กระป๋อง

ขั้นตอนการทำเหยื่อตกปลา
- นำรำมาคลุกเคล้าให้เข้ากับขนมปัง ในกระป๋อง
- หลังจากนั้นนำเส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่มาฉีกเป็นเส้นเล็กๆประมาณ 1-2 เซนติเมตร แล้วก็ใส่ลงไปในกระป๋องคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- พอคลุกเคล้าเข้ากันแล้วให้นำหัวเชื้อนมแมวและนมข้นหวานใส่ลงไป แล้วจึงคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง
- เติมน้ำลงไปพอประมาณ โดยให้สามารถปั้นเป็นก้อนได้
- หลังจากนั้นจึงหมักทิ้งไว้ 1 คืน ก็สามารถนำไปใช้ตกปลาได้

ขั้นตอนการใช้
ให้นำอาหารที่หมักแล้ว 1 คืนมาปั้นในตะกร้อตกปลาให้เป็นก้อนกลมๆ พอประมาณแล้วนำไปใช้ตกปลา โดยเหยื่อตกปลาดังกล่าวนิยมใช้ตกปลาน้ำจืด

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณอรุพล กาญจนาวิล
หมู่บ้านบ้านขอมเวชทรัพย์ ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี
เบอร์โทรศัพท์ 084-914-4128
ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ. จันทบุรี
อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

การเพาะผักหวานป่าด้วยเมล็ดในกระบอกไม้ไผ่

Posted by Gang of 4wd on 22:09 in
คุณสุพรรณ เกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรีนอกจากจะมีความเชี่ยวชาญเรื่องไผ่แล้ว ยังมี ภูมิปัญญาชาวบ้านเรื่องการเพาะขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วย โดยได้เล่าถึง อดีต ว่าเมื่อก่อนคุณพ่อของคุณสุพรรณจะให้ลูกๆเพาะเมล็ดผลไม้ต่างๆในกระบอก ไม้ไผ่ จึงนำความรู้แต่ดั้งเดิมมาปรับใช้กับการเพาะผักหวานป่า ซึ่งคุณ สุพรรณได้มองว่าในอนาคตจะปลูกผักหวานป่าระหว่างกอไผ่ด้วย โดยคุณสุพรรณได้ บอกถึงวิธีการเพาะพันธุ์แบบภูมิปัญญาชาวบ้านมาบอกกันด้วยครับ


วิธีการเพาะผักหวานป่าด้วยเมล็ดในกระบอกไม้ไผ่
วัสดุอุปกรณ์
1.กระบอกไม้ไผ่จำนวน 1 กระบอก (เลือกกระบอกที่มีความยาวและลำใหญ่ที่สุด)
2.เมล็ดผักหวานป่า จำนวนเท่ากับจำนวนกระบอกไม้ไผ่ โดยเมล็ดผักหวานป่าที่จะนำมาเพาะนั้นต้องเอาเมล็ดที่ออกช่วงกลางเดือน พฤษภาคม หรือหลักจำง่ายๆคือช่วงวันวิสาขะบูชานั่นเอง จะได้เมล็ดผักหวานป่าที่สมบูรณ์และแก่พอดี
3.ดินดีที่ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแล้ว จำนวนที่ใช้ เท่ากับจำนวนกระบอกไม้ไผ่ โดย กระบอกไม้ไผ่ 1 กระบอกจะใช้ดินใส่เกือบเต็มกระบอก
4.เชือกฟาง

ขั้นตอนการเพาะ
1.นำกระบอกไม้ไผ่มาเจาะรูใต้กระบอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร จำนวน 1 รู เพื่อเป็นรูระบายน้ำและทุบกระบอกพอแตก
2.นำดินดีใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ใส่ดินเกือบเต็มกระบอก โดยให้ห่างจากปากระบอก 5 เซนติเมตร
3.นำเมล็ดผักหวานป่าถูเปลือกด้านนอกออก ให้เหลือแต่เมล็ดข้างใน
4.นำเมล็ดผักหวานป่าที่ถูเปลือกออกแล้วไปเพาะในกระบอกไม้ไผ่ โดยกดให้เมล็ดฝังลงในดินครึ่งเมล็ด และโผล่ขึ้นเหนือดินครึ่งเมล็ด
5.นำเชือกฟางมัดรอบกระบอก 2 จุด เพื่อไม่ให้กระบอกแตกออกจากกันมากเกินไป จุดที่ 1 วัดจากปลายกระบอกลงมา 15 เซนติเมตร จุดที่ 2 วัดจากท้ายกระบอกขึ้นไป 15 เซนติเมตร
6.รดน้ำพอชุ่ม วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น เพาะในกระบอกจนครบ 1 ปี จึงนำไปปลูกได้

วิธีการปลูก
1.ขุดหลุมในพื้นที่ปลูก ความลึกเท่ากับความยาวกระบอกไม้ไผ่ ให้ปากกระบอกเสมอหน้าดินที่ปลูก
2.กลบดินข้างกระบอกกดให้พอแน่น
3.รดน้ำพอชุ่ม เช้าเย็น พร้อมหาวัสดุพรางแสงในช่วงต้น

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ชัยนาท
อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

การทำปลาร้าถั่วเหลือง

Posted by Gang of 4wd on 19:57 in
ปลาร้าเป็นอาหาร ประจำท้องถิ่นของคนไทยมายาวนาน โดยเฉพาะทางภาคอีสานและภาคเหนือของไทย อาหาร แทบทุกอย่างปรุงแต่งรสด้วยปลาร้า ปัจจุบันนี้มีการคิดค้นทำปลาร้าจากถั่ว เหลืองซึ่งจะมีกลิ่นและรสชาติที่ใกล้เคียงกับปลาร้าที่ทำจากปลามาก



พ่ออินผ่อง แก้วดำ เกษตรกรผสมผสาน ศูนย์เรียนรู้ฯ ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นเกษตรกรที่ชอบแสวงหาความรู้ใหม่ๆ โดยเฉพาะการเกษตรแบบผสมผสาน แปรรูปอาหาร จนได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในฐานะเกษตรกรดีเด่นภาคเหนือ ปี 2542 และได้รับเกียรติบัตรในด้านอื่นๆ อีกมากมาย กิจกรรม/การศึกษาดูงานที่ผ่านเคยได้เข้าอบรมหลายๆที่ ความรู้ที่ได้ก็จะเอามาใช้รวมทั่งเผยแพร่ให้สำหรับผู้สนใจต่อไป โดยล่าสุดได้แนะนำสูตรการทำปลาร้าถั่วเหลือง ที่ได้จากศูนย์ฝึกอบรมบุญนิยมดอยรายปลายฟ้า เมื่อหลายปีก่อน ให้กับทีมงานวิทยุร่วมด้วยช่วยกันเชียงราย ด้วยวิธีทำง่ายๆดังนี้


สูตรสำหรับการทำปลาร้าถั่วเหลือง :

1. ถั่วเหลืองล้างสะอาด 1 กิโลกรัม
2. ขาวคั่ว 1 ขีด
3. เกลือแกง 3 ขีด
4. สับปะรด 1-2 หัวเล็ก
5. ซีอิ้ว 3-4 ขวด

วิธีการทำปลาร้าถั่วเหลือง :

1. ล้างทำความสะอาดคัดสิ่งปลอมปนออกจากถั่วเหลืองแล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน

2. จากนั้นล้างถั่วที่แช่น้ำแล้ว 3 น้ำหรือล้างให้สะอาด ก่อนนำไปต้มกับน้ำ พอๆ กับการหุงข้าว โดยใช้ไฟแรงปานกลาง ต้มจนถั่วนิ่มเปื่อย น้ำแห้งหมดพอดี

3. นำถั่วต้มสุก มาผสมรวมกับสับปะรดที่สับละเอียดแล้ว แล้วนำไปหมักในภาชนะที่ปิดฝาให้มิดชิด เป็นเวลานาน 15-30 วัน คนพลิกกลับถั่วทุกวัน วันละ 1 ครั้ง

4. เมื่อหมักครบกำหนดให้นำถั่วหมักมาปั่นหรือโขลกให้ละเอียด แล้วปรุงรสด้วยข้าวคั่ว เกลือ และ ซีอิ้ว ตามอัตราส่วนดังกล่าว ก่อนนำไปรับประทานเคียงกับผักสด

คุณค่าทางโภชนาการ :

ถั่วเหลืองให้พลังงาน โปรตีน ไขมัน ฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม และใยอาหารจำนวนมาก สารอาหารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ประโยชน์ของปลาร้าถั่วเหลือง :

1. ช่วยให้ผู้ที่รับประทานเจหรือมังสวิรัติสามารถลิ้มลองรสชาติของปลาร้าที่ อร่อย ทั้งกลิ่นและรสชาติก็ใกล้เคียงกับปลาร้าที่ทำมาจากปลาเป็นอย่างมาก

2. ทำให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

3. ช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร ซึ่งสามารถผลิตออกจำหน่ายให้กับผู้ที่รับประทานอาหารเจ มังสวิรัติหรือผู้ที่นิยมรับประทานได้

-------------------------------------- @ ^ - ^ @ -----------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คุณใจทิพย์ ยศอินต๊ะ จนท.ศูนย์ฝึกอบรมบุญนิยมดอยรายปลายฟ้า และพ่ออินผ่อง แก้วดำ เกษตรกรผสมผสาน ศูนย์เรียนรู้ฯ ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.เชียงราย
อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

สูตรการทำยาสีฟันสมุนไพร

Posted by Gang of 4wd on 19:52 in
ปัจจุบัน ผู้บริโภคนิยมใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสมุนไพรกันอย่างแพร่หลาย เพราะผู้ บริโภคคำนึงถึงสุขภาพและหันมาให้ความสำคัญและเล็งเห็นถึงประโยชน์ของสมุนไพร ไทยกันมากขึ้น จึงอยากแนะนำยาสีฟันที่ทำมาจากสมุนไพรไทยของพ่ออินผ่อง แก้ว ดำ เกษตรกรผสมผสาน ศูนย์เรียนรู้ฯ ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่ง เป็นผู้ที่ได้ศึกษาและมีประสบการณ์ในการผลิตยาสีฟันจากสมุนไพรไทยมาเป็นเวลา นานจนได้รับการยอมรับว่าเป็นยาสีฟันที่มีคุณภาพ โดยมีวิธีการผลิตง่ายๆ ดัง ต่อไปนี้คือ


การทำยาสีฟันส มุนไพร มีส่วนประกอบดังนี้
1.เกลือสะตุ 6 ขีด (คือเกลือที่คั่วไฟจนสุกแล้ว)
2.สารส้มสะตุ 16 กรัม (คั่วจนสุกแล้ว)
3.ดินสอพอง 250 กรัม
4.ใบฝรั่งตากแห้ง(บด) 40 กรัม
5.ใบข่อยตากแห้ง(บด) 20 กรัม
6.การบูร(บด) 20 กรัม
7.พิมเสน(บด) 15 กรัม
8.ชะเอม,อบเชย 3 ช้อนโต๊ะ
9.กานพลู 15 กรัม

วิธีการทำ
นำส่วนผสมทั้งหมดยกเว้น พิมเสน ผสมให้เข้ากันร่อนตะแกรงถี่ๆ หลังจากนั้นนำพิมเสนลงคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปบรรจุถุง หรือขวด ก็สามารถนำไปใช้ได้

สรรพคุณ
ช่วยให้ปากสะอาด ป้องกันฟันผุ ใบฝรั่งและใบข่อยช่วยขัดฟันให้ขาวสะอาด และช่วยลดกลิ่นปากได้เป็นอย่างดี

หมายเหตุ ไม่ควรนำพิมเสนไปผสมพร้อมกันกับการบูร เพราะจะทำให้จับตัวกันเป็นก้อน ควรนำมาคลุกเคล้าเป็นขั้นตอนสุดท้าย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : พ่ออินผ่อง แก้วดำ เกษตรกรผสมผสาน ศูนย์เรียนรู้ฯ ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โทร.087-5779340

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.เชียงราย
อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

“ ทะนานหลวง” หน่วยตวงข้าว จากอดีตสู่ปัจจุบัน

Posted by Gang of 4wd on 19:48 in
นายคำนึง ชนะ สิทธิ์ อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 12 ต.สองพี่น้อง จากการที่ประกอบอาชีพเกษตรมา ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ และได้เข้ามารับหน้าที่รับใช้สังคมด้วยการเป็นผู้ใหญ่ บ้าน จึงมีความคิดที่จะต้องการพัฒนาชุมชน ให้เป็นชุมชนที่มีรายได้และสร้าง อาชีพขึ้นจึงมีการทำบ้านให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ให้ความรู้การทำนา ข้าวกล้องให้กับสมาชิก และยังมีความรู้ที่ได้รับจากอดีตสมัยบรรพบุรุษมา ปรับใช้กับปัจจุบันเพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก เช่น หน่วยการชั่ง ตวง วัด ข้าว ของอดีตที่ยังสามารถมาใช้ในการชั่ง ตวง วัด ในปัจจุบัน โดยการสร้าง ด้วยวัสดุในท้องถิ่นคือ กะลามะพร้าว และมีการเรียกหน่วยการชั่ง ตวง วัด นี้ ว่า “ทะนานหลวง”



การเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์
1.กะลามะพร้าวหนึ่งใบ
2.เลื่อยสำหรับตัดไม้หรือเหล็ก ฯลฯ ใบบาง ๆ 1 เล่ม

วิธีการทำ
1.ใช้ปากกาเคมีขีดเส้นรอบวงเพื่อทำสัญญาลักษณ์โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่านแต่ละส่วนมีความกว้าง เท่า ๆ กัน
2.หลังจากนั้นใช้เลื้อย เลื้อยส่วนก้นทิ้ง ให้กะลามะพร้าวมีรูปร่างคล้ายกับขัน (ส่วนที่เลื้อยทิ้งคือด้านตรงข้ามกับส่วนที่เป็นตากะลาหรือรูตากะลามะพร้าว

อุปกรณ์กะลามะพร้าวที่ได้คืออุปกรณ์ในการชั่ง ตวง วัด ข้าว
โดยนำข้าวสารใส่กะลาที่เตรียมไว้ให้เต็มพอดี เรียกว่า ปริมาณข้าว 1 ทะนานหลวง

โดยจะมีค่าหน่วยดังต่อไปนี้
-1 ทะนานหลวง เท่ากับ 1 ลิตร
-20 ทะนานหลวง เท่ากับ 1 ถัง
-40 ทะนานหลวง เท่ากับ 2 ถัง ฯลฯ
-จนถึง 100 ถัง เท่ากับ 1 เกวียน

*** หน่วยชั่ง ตวง วัด (ทะนานหลวง เป็นหน่วยการชั่ง ตวง วัด ที่มีการเริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการบังคับให้ปฏิบัติเหมือนกันทุกคน และต่อมาได้มีการใช้กระป๋องนมตรามะลิ มาเป็นอุปกรณ์แทนการใช้กะลามะพร้าว โดยมีหน่วยและปริมาณการชั่ง ตวง วัด ดังนี้
-3 กระป๋องนม เท่ากับ 1 ลิตร (ปัจจุบัน)

ข้อสังเกต หน่วยที่ใช้คำว่า “ถัง” นั้นมีปริมาณความจุเท่ากับ 1 ปี๊บในปัจจุบัน

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
นายคำนึง ชนะสิทธิ์
6/1 หมู่.12 ต.สองพี่น้อง อ. ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 22000
โทร. 089-092-9596


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.จันทบุรี
อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

การทำปลาร้าสูตรดั้งเดิมชาวชัยนาท

Posted by Gang of 4wd on 20:29 in
เกษตรกรผู้ที่นำปลามาแปรรูปเป็นปลาร้าท่านนี้คือ นางพะ เยาว์ บุญรุ่ง ปัจจุบันคุณป้าพะเยาว์ มีอายุ 68 ปี ตั้งอยู่เลข ที่ 33 หมู่ 8 ชุมชนบ้านหนอง ต.ตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท คุณป้าพะเยาว์เล่า ให้ฟังว่าในอดีต ตนนั้นมีฐานะที่ยากจน แม่และพ่อมีอาชีพทำนา พออยู่พอ กิน แต่คุณยายมีอาชีพการทำปลาร้า และถ่ายทอดมาสู่ตน จนทำมาเป็นอาชีพจนถึง ปัจจุบัน ในการประกอบอาชีพทำปลาร้านั้นป้าพะเยาว์ทำมาตั้งแต่ อายุ 21 ปี หรือ ตั้งแต่แต่งงานก็ทำอาชีพนี้มาโดยตลอด นับเป็นเวลา 47 ปี แล้วที่ประกอบอาชีพการทำปลาร้าขาย ซึ่งนับว่ามีความชำนาญอย่างที่สุด แล้ว และป้าพะเยาว์ยังมีคติประจำใจในการประกอบอาชีพคือ ขยัน อดทน ซื่อ สัตว์ ไม่เกี่ยวข้องยาเสพติด

การทำปลาร้า ( จำนวน 1 โอ่ง)
วัสดุอุปกรณ์
1.ปลาสดปลาแม่น้ำ จำนวน 150 กิโลกรัม
2.เกลือ 15 กิโลกรัม
3.ข้าวคั่ว 15 กิโลกรัม
4.ไม้ไผ่ขนาดยาวกว่าปากโอ่งเล็กน้อย 2 ชิ้น
5.ตาข่ายพลาสติก ขนาดเท่าปากโอ่ง
6.โอ่งมังกรขนาดใหญ่ 1 ใบ

ขั้นตอนการทำ
1.นำปลาสดที่ได้มาล้างทำความสะอาด นำมาผ่าท้องควักใส้และขี้ปลาออก สับปลาให้มีขนาด 2 นิ้ว ( หากเป็นปลาตัวเล็กล้างทำความสะอาดไม่ต้องสับ ) แล้วจึงนำไปล้างน้ำเปล่าให้สะอาดอีกที

2.นำปลาที่สับและล้างแล้วมาใส่ในโอ่งที่เตรียมไว้ นำเกลือ จำนวน 15 กิโลกรัม ใส่ในโอ่ง คลุกเคล้าให้เข้ากันกับเนื้อปลา หมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์

3.เมื่อหมักปลากับเกลือทิ้งไว้ 1 สัปดาห์แล้วให้นำข้าวคั่ว จำนวน 15 กิโลกรัม มาคลุกเคล้าลงในโอ่ง เสร็จแล้วก็นำตาข่ายพลาสติกมาปิดปลาไว้ ใช้ไม้ไผ่กลัดให้แน่น และใส่น้ำเปล่าให้เต็มโอ่งเพื่อป้องกันแมลงวันมาวางไข่

4.หมักทิ้งไว้ จำนวน 3 เดือน ถึง 1 ปี ก็สามารถนำมาประกอบอาหารได้
( แต่ไม่ควรเกิน 1 ปี )

** เทคนิคการทำปลาร้าให้อร่อย **
คุณป้าพะเยาว์ผู้มีอาชีพการทำปลาร้ามายาวนานถึง 47 ปี กล่าวว่า หากจะทำปลาร้าให้อร่อยต้องมีเทคนิคในการเลือกปลาคือ ปลาที่นำมาทำปลาร้านั้น จะต้องเป็นปลาไทย เท่านั้น เช่น ปลาสร้อย ปลาตะเพียน ปลาช่อน ฯลฯ แต่อย่านำปลา ทะเล ปลาเขมร มาทำปลาร้า เพราะจะมีรสชาติไม่อร่อย แต่หากเป็นปลาไทยก็ไม่ควรนำปลาเลี้ยงมาทำเพราะจะมีกลิ่นของอาหารปลาออกมา หากนำมาทำปลาร้าก็จะไม่อร่อยเช่นกัน


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ชัยนาท
อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

สูตรน้ำหมักผลไม้ฉีดนาข้าว

Posted by Gang of 4wd on 20:23 in
เทคนิคในการบำรุง และเพิ่มผลผลิตให้กับข้าว เกษตรกร หลายท่านที่มีอาชีพทำนาคงจะอยากให้ข้าวในนาของตน อออรวงสวยและสมบูรณ์ รวม ถึงเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่ดี ซึ่งแต่ละท่านอาจจะเลือกสูตรการบำรุงที่แตก ต่างกันไป และวันนี้ คุณลุงบุญส่ง อังคาลัย ก็มีเทคนิคดี ๆ ที่ช่วยใน การบำรุงและเพิ่มผลผลิตให้กับข้าว โดยเทคนิคและเคล็ดลับอยู่ที่การใช้น้ำ มะพร้าวแทนน้ำเปล่า ซึ่งมีวิธีการและรายละเอียดในการทำดังนี้


วิธีการทำน้ำหมักผลไม้
1. กล้วยน้ำว้าสุก 1 กิโลกรัม
2. มะละกอสุก 1 กิโลกรัม
3. ฟักทองสุก 1 กิโลกรัม
4. กลูโคส 100 cc (หรือลิโพ หรือ เอ็ม150 แทนก็ได้ 1 ขวด)
5. หน่อกล้วยหน่ออวบ ๆ สับละเอียด 1-3 กิโลกรัม (ต้นเล็กที่มีใบไม่เกิน 3 ใบ)
6. ไข่ 3 ฟอง (ทำให้แตกทั้งเปลือก)
7. น้ำมะพร้าว 10 ลิตร

วิธีการทำ
นำส่วนผสมทั้งหมดมาหมักรวมกัน ในถังทึบแสง ปิดฝาให้สนิท แล้วหมักไว้ระยะเวลา 1 อาทิตย์

วิธีการใช้
หลังจากหมักได้ที่แล้ว (จำนวน 1 อาทิตย์) ให้นำน้ำหมักที่ได้มากรองผ้าขาวบาง นำมาผสมน้ำในอัตรา น้ำหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นในนาข้าว ในช่วงเช้ามืด หรือ ช่วงเย็นพลบค่ำ (หลังจาก 5 โมงเย็น) โดยฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน (หรือ 7 วัน/ครั้ง ) จนข้าวออกรวง


ข้อมูลโดย : คุณลุงบุญส่ง อังคาลัย เกษตรกรผู้ทำเกษตรผสมผสาน ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี
ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ. สระบุรี
อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

การทำเครื่องดื่มข้าวกล้องงอกเสริมโปรตีน

Posted by Gang of 4wd on 19:13 in
ข้าวกล้องงอกมีประโยชน์มากมาย เป็นช่วยให้สมองผ่อน คลาย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ บำรุงระบบประสาท หรือลดความดันโลหิตแล้ว การรับ ประทานข้าวกล้องงอกยังช่วยลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยระบบ ย่อยอาหาร ช่วยให้สมองผ่อนคลาย นอนหลับสบาย และช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้ ด้วย แถมยังช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ ไม่ให้แก่ก่อนวัยได้อีก ซึ่ง ข้าวกล้องงอกนอกจากจะนำมาหุงรับประทานแล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผง เพื่อ ชงดื่มได้สะดวกขึ้น และ สามารถเพิ่มโปรตีนจากถั่วเหลืองเข้าไปให้ผู้บริโภค ได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น จึงขอแนะนำ การทำ เครื่องดื่มข้าวกล้องงอกเสริม โปรตีนจากถั่วเหลืองและงาหม่อน จาก คุณแม่ผล วงค์ศรีดา เกษตรกรบ้านสัน สะอาด ต.ไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย


ส่วนประกอบ
1.ข้าวกล้องงอกบดละเอียด จำนวน 9 ส่วน
2.ถั่วเหลืองบดละเอียด จำนวน 5 ส่วน
3.งาหม่อน หรือ งาดำบดละเอียด จำนวน 5 ส่วน

วิธีทำ และ วิธีรับประทาน
นำ ข้าวกล้องงอกบดละเอียด ถั่วเหลืองบดละเอียด และ งาหม่อน หรือ งาดำบดละเอียด มาผสมให้เข้ากัน จากนั้นเก็บไว้ในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด สามารถชงดื่มกับน้ำร้อนได้ตามสะดวก โดยใช้ข้าวกล้องงอกผง จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำร้อน จำนวน 1 แก้ว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ที่มาภูมิปัญญา : คุณแม่ผล วงค์ศรีดา เกษตรกรบ้านสันสะอาด ต.ไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย โทร.087-1735245


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันจ.เชียงราย
อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

เทคนิคการเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นกล้าก่อนปักดำ

Posted by Gang of 4wd on 19:09 in
ปัจจุบันเกษตรก่อนส่วนใหญ่พยายามหาวิธีการและเทคนิคต่างๆมากมายมาใช้เพื่อ ช่วยให้พืชที่ปลูกไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือพืชชนิดอื่นๆ สามารถต้านทานโรคได้ ดี ให้ผลผลิตสูง และประหยัดต้นทุนมีเกษตรกรหลายรายที่ประสบผลสำเร็จจากการ ทดลองนำเทคนิคต่างๆมาใช้ เช่นเดียวกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวรายนี้คือคุณบุญ ผ่อง อภิธนัง บ้านสันต้นเปา หมู่ 4 ต.ริมกก อ.เมือง จังหวัดเชียงราย มี เทคนิคในการเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นกล้า ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวและต้านทาน ต่อโรค




เทคนิคการเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นกล้าก่อนปักดำ
1.เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวที่จะนำมาปลูก
2.เตรียมพื้นที่โดยการไถพรวนดิน แล้วยกร่องขึ้นมาประมาณ 1 คืบ
3.จากนั้นใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งดินให้เป็นหลุมพอประมาณ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
4.นำเมล็ดข้าวหลอดลงไปในหลุมประมาณ 8-10 เมล็ด
5.กลบด้วยขี้เถ้าแกลบ โดยไม่ต้องใช้ดินกลบ เพื่อง่ายต่อการถอนกล้าและเป็นปุ๋ยให้กับต้นกล้าได้
6.หลังจากนั้นประมาณ3วันจะได้กล้าเล็กๆงอกออกมา
7.ประมาณ15 วันสามารถนำลงไปชำในที่นาได้
8.หลังจากนำมาชำในที่นาได้ประมาณ1เดือนก็จะถอนกล้าออกมาจากที่นาอีกครั้ง แล้วทำการแยกต้นกล้าลงปลูกจริง
9.หลังจากนั้นก็ดูแลรักษา ให้ปุ๋ย กำจัดศัตรูพืชและวัชพืชตามปกติจนกว่าจะเก็บผลผลิต

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ช่วยประหยัดกล้าพันธุ์ที่จะนำมาปลูกเพราะต้นกล้าที่นำมาชำเรียบร้อยแล้ว นั้นสามารถแยกออกมาปลูกได้หลายต้นกล้า ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ได้ต้นกล้าถึง 5 เท่าของเมล็ดพันธุ์ที่นำมาเพาะกล้าพันธุ์
2.ทำให้ข้าวมีรวงขนาดใหญ่สมบูรณ์ สามารถเพิ่มผลผลิตข้าว
3.ทนต่อโรค แมลงและศัตรูพืชต่างๆ เช่นปูนา หอยเชอรี่ เป็นต้น
4.ประหยัดเวลาในการถอนกล้า

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.เชียงราย
อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

ปุ๋ยน้ำโปรตีนข้าว

Posted by Gang of 4wd on 19:00 in
คุณลุงยวง เขียวนิล เกษตรกรดีเด่นจังหวัดนนทบุรีได้บอก เคล็ดลับการทำนาข้าวอินทรีย์โดยการใช้น้ำหมักที่หาได้ในท้องถิ่นมาบำรุงข้าว ในนานั้นเอง วิธีการนั้นไม่ได้มีอะไรที่ยากแต่ใช้เทคนิคการหมั่นดูมั่น ทดลองเท่านั้นเอง ลุงยวงจะเรียกน้ำหมักนี้ว่า “ปุ๋ยน้ำโปรตีนนาข้าว ด้วย สูตรน้ำหมักเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ข้าว ซึ่งมีวิธีการและรายละเอียดดังนี้



ส่วนผสม
1. หอยเชอรี่/เนื้อสัตว์(ปลา,หัวปลา)
2. ใบตำลึง

วิธีการทำ
นำหอยเชอรี่/เนื้อสัตว์(ปลา,หัวปลา) หมักกับ ใบตำลึง ในอัตรา 1:1 หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-25 วัน สังเกตว่าถ้าหน้าน้ำหมักมีคราบมันหรือมีน้ำมันขึ้นมาแสดงว่าใช้ได้แล้ว

วิธีการนำไปใช้
ใช้ฉีดในนาข้าวหลังจากที่หว่านข้าวไปแล้ว 20 วันก็นำน้ำหมักหรือปุ๋ยน้ำโปรตีนข้าวไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1:500 ส่วน คือน้ำหมัก 1 ส่วน และน้ำ 500 ส่วน แล้วนำไปฉีดพ่นในนาข้าว

ลุงยวงได้บอกว่า ใน “ปุ๋ยน้ำโปรตีนนาข้าว” หรือน้ำหมักเพิ่มธาตุอาหารใช้แก่ข้าว นั้นถ้าเป็นการหมักขึ้นมาเองบอกได้เลยว่าจะมีธาตุอาหารน้อยกว่าปุ๋ยเคมี ดังนั้น ถ้าใช้ “ปุ๋ยน้ำโปรตีนนาข้าว” จะต้องฉีดเป็นประจำทุก ๆ อาทิตย์หลังจากการหว่านข้าวไปแล้ว 20 วันเป็นการเพิ่มธาตุอาหารและโปรตีนให้กับต้นข้าวได้อย่างดียิ่งขึ้น
ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.สระบุรี อ่านต่อกดจ๊ะ......

0

เครื่องดื่มน้ำดอกไม้

Posted by Gang of 4wd on 20:29 in
ชาวอัมพวาล่องเรือตกปลายามเช้า

ชุมชนริมคลองชาวอัมพวา



พูดถึง "อัมพวา" ชุมชนริมคลองแห่งเมืองสมุทรสงคราม หลายคนคงนึกถึงภาพล่องเรือชม "หิ่งห้อย" ยามค่ำ เรียกได้ว่าเจ้าแมลงตัวน้อยที่คุยกันผ่าน "สัญญาณแสง" คือแม่เหล็กสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปเยือน แต่ "ตลาดน้ำอัมพวา" ก็เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่ชักชวนให้คนต่างถิ่นแวะไปเยี่ยมชมวิถีชีวิตที่ แตกต่าง

"น้ำพันช์ดอกดาหลา" เครื่องดื่มจากดอกไม้ไร้ราคาที่พบเห็นดาษดื่นได้ตามท้องร่องของสวนผลไม้ และเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เครื่องดื่มดังกล่าวปรุงสูตรโดย นางสำเนียง ดีสวาสดิ์อดีตแม่บ้านที่มีช่วยสร้างสีสันให้ตลาดน้ำอัมพวาด้วยการขายเครื่อง ดื่มจากลูกสำรอง ซึ่งเคยได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหนึ่ง จนกระทั่งเทศบาลตำบลอัมพวาได้ติดต่อให้เธอช่วยนำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราช ภัฎบ้านสมเด็จไปต่อยอด
นางสำเนียง ดีสวาสดิ์อดีตแม่บ้านที่มีช่วยสร้างสีสันให้ตลาดน้ำอัมพวาด้วยการขายเครื่อง ดื่มจากดอกดาหลา

ผลการวิจัยคุณประโยชน์ของดอกไม้ 5 ชนิด โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ ได้แก่ ดอกกุหลาบ ดอกบัวหลวง ดอกเข็ม ดอกดาหลาและดอกอัญชัญ พบว่าดอกไม้เหล่านี้มีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาเขียวถึง 5 เท่า โดยดอกเข็มแดงมีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดถึง 99.5 % ส่วนกุหลาบ อัญชัญ และดอกบัวหลวงมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่า 90% ขณะที่ดอกดาหลามีสารต้านอนุมูลอิสระ 76%

การแปรรูปดอกไม้ชนิดอื่นๆ ดูจะไม่เป็นปัญหามากนัก แต่สำหรับดอกดาหลา ไม้ตระกูลขิงที่มี "เผ็ด เปรี้ยว ฉุน" นั้นเป็นความท้าทายของเธออย่างยิ่งที่จะต้องปรุงเครื่องดื่มโดยดึงรสชาติและ กลิ่นเฉพาะตัวนี้ออกมา หลังจากลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ได้เครื่องดื่มที่ขายดีที่สุดในบรรดาเครื่องดื่มจากดอกไม้ทั้งห้า ชนิดของเธอ

"ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ บางครั้งเททิ้งเป็นหม้อๆ ก็มี " สำเนียงเล่าถึงความพยายามในการปรับปรุงเครื่องดื่มจากดอกไม้ ให้กับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ฟังภายในร้านค้าริมคลองในอัมพวา เธอเผยด้วยว่าครั้งแรกที่ผลิตออก 100 ขวดก็ขายหมดทันที ปัจจุบันยิ่งเป็นที่รู้จักผ่านสื่อมากขึ้น ทำให้ช่วงศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ขายเฉพาะน้ำพันช์ดอกดาหลาอย่างเดียวได้ถึง 1,000 ขวด ยังไม่รวมเครื่องดื่มน้ำดอกไม้อื่นๆ ที่ขายได้ไม่ต่ำกว่า 800 ขวด และนอกจากวางขายในตลาดน้ำแล้ว ยังมีลูกค้าจากระนอง ชลบุรี และจังหวัดใกล้เคียงมารับเครื่องดื่มของเธอไปขายต่ออีก นอกจากนี้ดอกดาหลายังมีมูลค่าขึ้น โดยขายได้ดอกละ 5 บาท

" ถ้าไม่มีงานวิจัยพี่ก็ไม่กล้าเสี่ยงที่จะทำเหมือนกัน" เจ้าของเครื่องดื่มน้ำดอกไม้ "ตราสำเนียง" ประจำตลาดน้ำอัมพวาบอกกับเรา และบอกด้วยว่า ตอนนี้เธอยังต้องการเทคโนโลยีที่จะนำมายืดอายุเครื่องดื่มจากที่เก็บไว้ได้ เพียง 7 วัน ให้เก็บไว้ได้นานขึ้น ซึ่งล่าสุดได้รับความช่วยเหลือจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ที่พาเธอไปดูงานเรื่องการทำพลาสเจอไรซ์และสเตอริไรซ์อาหารที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภายหลังจากการดูงานสำเนียงบอกว่า เธอได้กลับมาปรับกระบวนการผลิตนิดหน่อย โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วและไม่ต้องลงทุนเพิ่ม นอกจากนี้ยังได้ซื้อเครื่องทดสอบความหวานจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาใช้ ซึ่งช่วยให้เธอควบคุมคุณภาพของเครื่องดื่มน้ำดอกไม้ได้
ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์

การนำความรู้เข้าไปช่วยเหลือเจ้าของกิจการเครื่องดื่มในตลาดน้ำ อัมพวาของ iTAP นี้ เป็นส่วนหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาผู้ประการรายเล็กในโครงการ "การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตลาดน้ำอัมพวา" ของศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี ซึ่ง ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์กล่าวว่า ทีเอ็มซีได้ช่วยเหลือบริษัทเล็กๆ ให้สามารถแข่งขันได้ โดยเข้าไปช่วยทางด้านเทคโนโลยี ตั้งแต่เทคโนโลยีที่เหมาะสมไปจนถึงเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็ไม่ได้ทำงานกับชุมชนมากนัก จนกระทั่งปี 2552 นี้ เศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบกับเยอะ จนมีบริษัทต่างๆ ปิดไปเยอะ ทำให้มีคนกลับถิ่นฐานจำนวนมาก ทางศูนย์จึงได้ลงมาดูในระดับชุมชนว่า จะนำเทคโนโลยีอะไรที่ไปช่วยเก็บรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้ได้

" อัมพวาเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่เรามองว่ามีความพร้อม ซึ่งเราไม่ได้รายแรกที่เข้ามา เพราะเขาได้เปิดตลาดน้ำกันตั้งแต่ปี 2547 เรามองว่าเอกลักษณ์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของที่นี่น่าจะแข่งขันได้ ถ้าได้รับการส่งเสริมที่ถูกต้อง ที่ทำขนมอร่อย อาหารอร่อย ใกล้แหล่งวัตถุดิบสำคัญอย่างน้ำตาลมะพร้าว จึงมีโจทย์ว่าจะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยได้อย่างไร" ศ.ดร.ชัชนาถกล่าว และบอกว่ามี 3 โครงการที่ทีเอ็มซีเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการในตลาดน้ำอัมพวา คือ โครงการเครื่องดื่มดอกไม้ โครงการกาแฟโบราณ และโครงการข้าวแต๋น ซึ่งทั้งหมดเป็นโครงการที่ทางเทศบาลตำบลอัมพวาร้องขอให้ทีเอ็มซีเข้าไปช่วย ปรับปรุง
"ข้าวแต๋นลุงแว่น" ของศุภชาติ เจียมศิวานนท์


"ข้าวแต๋นลุงแว่น" ของศุภชาติ เจียมศิวานนท์ เป็นผู้ประกอบการอีกหนึ่งรายที่ได้รับคัดเลือกจากเทศบาลตำบลอัมพวาให้เข้า ร่วมโครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอัมพวา โดยเอกลักษณ์ข้าวแต๋นลุงแว่นคือใช้น้ำตาลมะพร้าว ขณะที่ข้าวแต๋นทั่วไปจะใช้น้ำตาลอ้อย ทั้งนี้แม้ว่าจะมีลีลาและวาทะในการขายที่ดึงดูดลูกค้าได้ดีอยู่แล้ว แต่ลุงแว่นยังมีปัญหาในเรื่องการทอดไม่ให้อมน้ำมัน ซึ่ง iTAP ที่เข้าร่วมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตลาดน้ำอัมพวาตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาผู้ประกอบ การรายย่อยได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยแก้ปัญหา

"หลังจากได้คุยตอนนี้ก็ทอดข้าวแต๋นไม่อมน้ำมันแล้ว" ลุงแว่นกล่าวบอกเทคนิคคร่าวๆ คือข้าวเหนียวที่ตากแห้งนั้นต้องไม่แห้งมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ และผู้เชี่ยวชาญจากโครงการยังมีส่วนช่วยเหลือลุงแว่นในการคัดเลือกพันธุ์ ข้าวเหนียวที่เหมาะสมสำหรับการทอดข้าวแต๋น ที่ช่วยระบุพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมว่าเป็นข้าวเหนียว กข 6 แต่ยังมีปัญหาเรื่องการเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวและการเก็บควันน้ำมันที่รบกวน เพื่อนบ้านอีก 2 ปัญหาที่อยู่ระหว่างการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
พลพิพัฒน์ สมานสิริกุล ทายาทรุ่นที่ 3


ทางด้าน พลพิพัฒน์ สมานสิริกุล ทายาทรุ่นที่ 3 ของธุรกิจกาแฟโบราณ "สมานการค้า" ซึ่งผลิตกาแฟคั่วบดจำหน่ายทั่วประเทศ และเปิดหน้าร้านขายกาแฟโบราณที่ตลาดน้ำอัมพวากล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ธุรกิจของเขาไม่ได้อิงกับตลาดน้ำอัมพวาเท่าไหร่นัก แต่การเปิดตลาดน้ำก็ทำให้กาแฟโบราณปรุงสำเร็จของเขาขายดีขึ้น เขาจึงอยากได้เครื่องมือสำหรับพลาสเจอไรซ์ชา-กาแฟเพื่อบรรจุขวดขายสำหรับ ลูกค้าที่อยากซื้อกลับบ้าน นอกจากนี้ยังต้องการความช่วยเหลือจากนักวิชาการเพื่อปรับปรุงกำลังการผลิต กาแฟคั่วบดให้ได้มากขึ้นและพึ่งพากำลังคนน้อยลง โดยปัจจุบันเขาผลิตได้วันละ 1-2 ตัน ขณะที่มีความต้องการมากถึงวันละ 4-5 ตัน

" ตอนนี้อยู่ระหว่างการพูดคุยกับนักวิชาการ แต่ก็ยังทำอะไรไม่ได้มาก เพราะผมต้องทำงาน (คั่ว-บดกาแฟ) ตลอดเวลา และที่ร้านก็มีพื้นที่จำกัด คงค่อยๆ ปรับปรุงไปเรื่อยๆ แต่อย่างแรกที่จะทำก่อนคือเครื่องพลาสเจอไรซ์กาแฟปรุงสำเร็จ" พลพิพัฒน์กล่าวถึงการปรับปรุงกิจการโดยความช่วยเหลือจากนักวิชาการ iTAP
ร้อยโทพัชโรดม อุนสุวรรณ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอัมพวา

ทางด้าน ร้อยโทพัชโรดม อุนสุวรรณ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอัมพวา ซึ่งเป็นชาวอัมพวาโดยกำเนิดเล่าถึงอดีตของอัมพวาว่า เคยเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ และเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางน้ำ เนื่องจากมีคลองมากว่า 360 คลอง แต่เมื่อการคมนาคมทางบกเข้ามา ทำให้ความสำคัญของคมนาคมทางน้ำลดบทบาทลง และในปี 2547 เทศบาลตำบลอัมพวาได้รื้อฟื้นตลาดน้ำขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งแรกๆ เป็นที่กังขากับคนในพื้นที่ว่าจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร แต่เศรษฐกิจในพื้นที่ได้ก้าวกระโดดจากรายได้ 60 ล้านบาทในปีแรก เพิ่มขึ้นเป็น 500 ล้านบาทในปี 2551 อย่างไรก็ดีคนในชุมชนยังไม่สามารถออกไปแข่งขันกับภายนอกได้ เนื่องจากขาดทักษะ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีและไอที

ร้อยโทพัชโรดมกล่าวว่าอยากให้อัมพวาเป็นต้นแบบที่แสดงให้เห็นว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถเข้ามาช่วยเหลือในระดับชุมชนได้ ซึ่งนอกจากประเด็นว่าจะช่วยให้คนในชุมชนผลิตสินค้าได้เก่ง ร้านโชห่วยสามารถแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อที่มีอยู่ทั่วหัวระแหงทุกวันนี้ได้ ร้านกาแฟโบราณธุรกิจของชุมชนสามารถแข่งขันกับร้านกาแฟแบรนด์ดังข้ามชาติได้ แล้ว ยังมีเรื่องการนำอินเทอร์เน็ตเข้าไปปรับปรุงระบบการจองห้องพักของโฮมสเตย์ใน ชุมชน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการติดต่อกับลูกค้าต่างชาติได้โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง และมีต้นทุนต่ำที่สุด โดยทางเทศบาลกำลังหารือกับเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยหรือซอฟแวร์พาร์ คภายใต้ศูนย์ทีเอ็มซีอีกด้วย

"อัมพวาเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งเกษตร เรามีผู้ประกอบที่พักมากกว่า 200 ราย โดย 90% ของผู้ประกอบการที่พักเป็นคนในพื้นที่ และผู้ประกอบการส่วนมากไม่ได้จบการท่องเที่ยวและโรงแรม บางแห่งเจ้าของทำสวนและมีกิจการเสริมเรื่องให้บริการที่พัก ตอนนี้มีวิกฤติด้านการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวที่เกิดจากการลงทุนของนักลงทุนกำลังประสบปัญหา แต่อัมพวาไม่มีเพราะเราเอาการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่ใช่ทั้งชีวิต การพัฒนาจาก "ทุนภายใน" เป็นทุนที่ดีที่สุดที่ทำให้เขาอยู่ได้ และเขาจะรักษาสิ่งแวดล้อมเพราะเจ้าของบ้านที่นี่คงไม่ย้ายบ้านหนีไปไหน" นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอัมพวากล่าว

ส่วนจุดขายเรื่องการล่องเรือชมหิ่งห้อย ซึ่งกลายเป็นประเด็นถกเถียงทางด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการรบกวนหิ่งห้อย หรือการสร้างความรำคาญให้กับชาวบ้านที่อยู่ริมคลองจนเกิดกรณีตัดต้นลำพูทิ้ง นั้น ร้อยโทพัชโรดมกล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการขาดทักษะของชาวบ้านที่เป็นเจ้าของเรือ แต่ก็มีความพยายามแก้ปัญหา ส่วนการตัดต้นลำพูไม่ได้หมายความว่าเกิดจากความรำคาญเรือหิ่งห้อย แต่เนื่องจากลำพูเป็นไม้เปราะเสี่ยงที่จะล้มทับหลังคาบ้านและสายไฟได้ บางครั้งจึงจำเป็นต้องตัดทิ้ง

"มีคำถามกลับว่าชาวอัมพวาจะอยู่ได้เพราะหิ่งห้อยหรืออัมพวาอยู่ได้เพราะความเป็นอัมพวา" ร้อยโทพัชโรดมตั้งคำถามที่ชี้ให้เห็นวิสัยทัศน์การพัฒนาอัมพวาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการพลิกฟื้นเศรษฐกิจของชุมชน


ขอบคุณข้อมูล ASTV อ่านต่อกดจ๊ะ......