0

“ ทะนานหลวง” หน่วยตวงข้าว จากอดีตสู่ปัจจุบัน

Posted by Gang of 4wd on 19:48 in
นายคำนึง ชนะ สิทธิ์ อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 12 ต.สองพี่น้อง จากการที่ประกอบอาชีพเกษตรมา ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ และได้เข้ามารับหน้าที่รับใช้สังคมด้วยการเป็นผู้ใหญ่ บ้าน จึงมีความคิดที่จะต้องการพัฒนาชุมชน ให้เป็นชุมชนที่มีรายได้และสร้าง อาชีพขึ้นจึงมีการทำบ้านให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ให้ความรู้การทำนา ข้าวกล้องให้กับสมาชิก และยังมีความรู้ที่ได้รับจากอดีตสมัยบรรพบุรุษมา ปรับใช้กับปัจจุบันเพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก เช่น หน่วยการชั่ง ตวง วัด ข้าว ของอดีตที่ยังสามารถมาใช้ในการชั่ง ตวง วัด ในปัจจุบัน โดยการสร้าง ด้วยวัสดุในท้องถิ่นคือ กะลามะพร้าว และมีการเรียกหน่วยการชั่ง ตวง วัด นี้ ว่า “ทะนานหลวง”



การเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์
1.กะลามะพร้าวหนึ่งใบ
2.เลื่อยสำหรับตัดไม้หรือเหล็ก ฯลฯ ใบบาง ๆ 1 เล่ม

วิธีการทำ
1.ใช้ปากกาเคมีขีดเส้นรอบวงเพื่อทำสัญญาลักษณ์โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่านแต่ละส่วนมีความกว้าง เท่า ๆ กัน
2.หลังจากนั้นใช้เลื้อย เลื้อยส่วนก้นทิ้ง ให้กะลามะพร้าวมีรูปร่างคล้ายกับขัน (ส่วนที่เลื้อยทิ้งคือด้านตรงข้ามกับส่วนที่เป็นตากะลาหรือรูตากะลามะพร้าว

อุปกรณ์กะลามะพร้าวที่ได้คืออุปกรณ์ในการชั่ง ตวง วัด ข้าว
โดยนำข้าวสารใส่กะลาที่เตรียมไว้ให้เต็มพอดี เรียกว่า ปริมาณข้าว 1 ทะนานหลวง

โดยจะมีค่าหน่วยดังต่อไปนี้
-1 ทะนานหลวง เท่ากับ 1 ลิตร
-20 ทะนานหลวง เท่ากับ 1 ถัง
-40 ทะนานหลวง เท่ากับ 2 ถัง ฯลฯ
-จนถึง 100 ถัง เท่ากับ 1 เกวียน

*** หน่วยชั่ง ตวง วัด (ทะนานหลวง เป็นหน่วยการชั่ง ตวง วัด ที่มีการเริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการบังคับให้ปฏิบัติเหมือนกันทุกคน และต่อมาได้มีการใช้กระป๋องนมตรามะลิ มาเป็นอุปกรณ์แทนการใช้กะลามะพร้าว โดยมีหน่วยและปริมาณการชั่ง ตวง วัด ดังนี้
-3 กระป๋องนม เท่ากับ 1 ลิตร (ปัจจุบัน)

ข้อสังเกต หน่วยที่ใช้คำว่า “ถัง” นั้นมีปริมาณความจุเท่ากับ 1 ปี๊บในปัจจุบัน

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
นายคำนึง ชนะสิทธิ์
6/1 หมู่.12 ต.สองพี่น้อง อ. ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 22000
โทร. 089-092-9596


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.จันทบุรี

0 Comments

แสดงความคิดเห็น

ช่วยกันออกข้อคิดเห็นติชมด้วยครับ