0

การเพาะเห็ดฟางจากขี้เลื่อยก้อนเชื้อเห็ดเก่า

Posted by Gang of 4wd on 17:10 in
เห็ดฟาง(1)ด.ต.สมพงษ์ ดีอาสา เกษตรกรผู้เพาะเห็ด จ.นครนายยก ได้แนะนำ
เห็ดฟาง(2)วิธีการเพาะจากขี้เลื่อยก้อนเชื้อเห็ดเก่าศึกษาการทำโทร*1677กด2


การ เพาะเห็ดฟางจากขี้เลื่อยก้อนเชื้อเห็ดเก่า ถือว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ สามารถลดต้นทุนในการเพาะเห็ดฟางได้เป็นอย่างดี จากการที่เกษตรกร ผู้เพาะ เห็ดหลายท่าน ที่ทำการเพาะเห็ดจากขี้เลื่อยหลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวผล ผลิตเรียบร้อยแล้ว หลายท่าน อยากจะนำก้อนเห็ดเก่า ไปใช้ประโยชน์ ต่อ ซึ่งบางท่าน อาจจะนำไปเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือบางท่าน อาจจะนำไปทำ อย่างอื่น แต่ในส่วนของด.ต.สมพงษ์ ดีอาสา เกษตรกรผู้โดดเด่นในด้านการ เพาะเห็ดฟาง จังหวัดนครนายก นั้น ได้นำก้อนเชื้อเห็ดเก่าไปใช้ประโยชน์ โดยการนำไปทำการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เพื่อเป็นการลดต้นทุน และนำสิ่งที่มี อยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยวิธีการและรายละเอียดดังนี้


วัสดุอุปกรณ์

1. เชื้อเห็ดฟาง

2. อาหารเสริมเห็ดฟางสำเร็จรูป

3. แป้งข้าวสาลี

4. ขี้เลื่อยจากก้อนเชื้อเห็ดเก่า

5. ตะกร้า รูขนาด 1 นิ้ว

6. ผ้ายาง

ขั้นตอนการเพาะ

1.นำขี้เลื่อยจากก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาขยี้ให้ละเอียด เสร็จแล้วนำมาใส่ในตะกร้าพลาสติกให้สูงประมาณ 2-3 นิ้ว ใช้มือหรือไม้กดให้แน่น

2.นำอาหารเสริมโรยชิดด้านในของตะกร้าเป็นวงกลม กว้างประมาณ 1 ฝ่ามือ ซึ่งใช้ประมาณ 1 ลิตรต่อชั้น

3.นำเชื้อเห็ดฟางออกจากถุง นำไปคลุกกับแป้งข้าวสาลีพอติดผิวนอก เพื่อเป็นอาหารเสริมระยะแรก เพื่อช่วยกระตุ้นให้เชื้อเห็ดเจริญได้ดี แล้วโรยทับอาหารเสริมอีกชั้นหนึ่ง ทำเป็นชั้นๆ ลักษณะนี้จนเต็มตะกร้าพลาสติก รดน้ำให้ชุ่ม(หากก้อนเชื้อเห็ดที่นำมาเพาะยังชุ่มอยู่ก็ไม่ต้องรดน้ำ )

4.ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมสำหรับการเกิดดอกเห็ด โดยการปิดโรงเรือนให้มิดชิด เช่น ด้านล่างควรใช้ อิฐทับผ้าพลาสติกไว้เพื่อป้องกันพลาสติกเปิดออกภายในโรงเรือนควรติด เทอร์โมมิเตอร์ สำหรับวัดอุณหภูมิ ในช่วงวันที่ 1 ถึง 4 วันแรก ต้องควบคุมอุณหภูมิในกระโจมหรือในโรงเรือนให้อยู่ในระดับ 37-40 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูง เกินไปให้เปิดช่องระบายอากาศด้านบนของโรงเรือนออกโดยใช้วัสดุพรางแสงคลุม หรือรดน้ำรอบๆ
โรงเรือน เมื่อครบกำหนด 4 วันแล้ว ให้เปิดผ้าพลาสติก หรือประตูโรงเรือนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศ (ออกซิเจน) เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟางสร้างจุดกำเนิดออก ถ้าวัสดุแห้งเกินไปให้รดน้ำหรือที่เรียกว่าการตัดใยเห็ด ในระหว่าง วันที่ 5-8 ต้องควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียสซึ่งในช่วงนี้จะมีการรวมตัวของเส้นใยเป็นดอกเล็กๆ จำนวนมาก เมื่ออายุได้ 9-12 วัน ก็เก็บดอกเห็ดได้

****ผลผลิตการเพาะเห็ดในตะกร้า 0.5 - 1 กิโลกรัม/ตะกร้า

ขอบคุณข้อมูลจาก : ด.ต.สมพงษ์ ดีอาสา เกษตรกรผู้โดดเด่นในด้านการเพาะเห็ดฟาง จังหวัดนครนายก


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.สระบุรี(IDF4190)


0 Comments

แสดงความคิดเห็น

ช่วยกันออกข้อคิดเห็นติชมด้วยครับ