0

การเลี้ยงปลาในนาข้าว

Posted by Gang of 4wd on 22:41 in

ข้าว(1)การทำนาที่ลงตัวได้ประโยชน์เกินคุ้ม ทวีกำไรมากมาย
ข้าว(2)การเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำในนาข้าว สนใจข้อมูลโทร * 1677 กด 2



เทคนิคการเลี้ยงปลาในนาข้าว เป็นการประหยัดพื้นที่และต้นทุนทั้ง อาหารปลาและปุ๋ยนาข้าว คุณตวงทิพย์เกษตรกรผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเกษตรแบบพอ เพียงเจ้าของสูตรนี้ ได้เล่าให้ฟังว่าเป็นการประกอบอาชีพแบบพอเพียง จริงๆ เพราะประหยัดต้นทุนทั้งอาหารปลาและปุ๋ยในนาข้าวพื้นที่บนคันนายัง สามารถสร้างรายได้ด้วยการปลูกพืชผักกินใบได้อีกด้วย ส่วนนาที่จะทำการ เลี้ยงปลาได้นั้นต้องเป็นนาดำและใช้พันธุ์สูง เพราะจะมีพื้นที่บางส่วนที่ เป็นที่ลุ่มที่ลึก ในการเลี้ยงปลาหรือให้ปลาได้อยู่อาศัยได้

เทคนิคการเลี้ยงปลาในนาข้าว


1. กล้าข้าว
2. กุ้งกุลาดำ 5 กิโลกรัม
3. ปลานิล(ตัวเท่าใบมะขาม) 500 ตัว
4. ปลาตะเพียน(ตัวเท่าใบมะขาม) 500 ตัว
5. มูลสัตว์ 10 กระสอบ
วิธีการ
หลังจากที่เตรียมพื้นที่ในการทำนาเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะดำนาให้หว่านด้วยมูลสัตว์ประมาณ 10 กระสอบ/ไร่ เพราะมูลสัตว์จะทำให้เกิดแพลงตอน และตัวไรแดง ไรขาว ซึ่งเป็นอาหารของปลา จากนั้นปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ แล้วประมาณ 7 วัน จึงดำนาได้ พอดำนาเสร็จให้ปล่อยกุ้งลงไป ประมาณ 5 กิโลกรัม ขนาดของกุ้งที่ปล่อยนั้นควรเป็นพันธุ์กุ้งที่มีขนาด 100-200 ตัว/กิโลกรัม หลังจากนั้นอีก 7 วันสามารถปล่อยปลาลงไปเลี้ยงได้ อายุของปลาเท่ากับอายุของข้าว เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็ให้ปล่อยน้ำออกเล็กน้อยจากนั้นก็เก็บเกี่ยวข้าว แล้วสามารถนำปลาจับปลามาทานหรือจำหน่ายได้ แต่หากจะเลี้ยงต่อก็ควรปล่อยน้ำเข้าอีกเล็กน้อย สามารถเลี้ยงต่อไปได้ตามใจของผู้เลี้ยงได้ ผลผลิตข้าวนั้นได้ประมาณ 80 ถัง/ไร่ ส่วนบนคันนานั้นก็ปลูกผักประเภท กระเพรา โหระพา หรือผักสวนครัวอื่น ๆ ไว้เก็บทานและจำหน่ายได้
ประโยชน์
1. สามารถประหยัดพื้นที่ เพราะยึดการทำนาข้าวแบบ 4 in 1 เพราะได้ทั้งข้าว ทั้งกุ้ง ปลา และผักสวนครัวบนคันนาด้วย
2. ประหยัดอาหารของปลาและกุ้ง เพราะมูลสัตว์ที่หว่านลงไปในนานั้นจะทำให้เกิดแพลงตอน ตัวไรแดง ไรขาว ที่เป็นอาหารของปลา
3. ประหยัดค่าปุ๋ยของข้าว เพราะมูลสัตว์สามารถเป็นปุ๋ยของนาข้าวได้ รวมถึง EM ที่สาดลงไปเพื่อบำบัดน้ำเสียก็สามารถปรับสภาพและเป็นปุ๋ยบำรุงต้นข้าวได้

***หมายเหตุ ช่วงระหว่างการเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา สังเกตดูว่า ถ้าน้ำเสียให้ใช้ EM สาดลงไปในนาข้าว เพื่อปรับสภาพน้ำให้น้ำไม่เสีย



ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ชัยนาท ( idf 4351 )



0 Comments

แสดงความคิดเห็น

ช่วยกันออกข้อคิดเห็นติชมด้วยครับ