0

การทำลูกประคบสมุนไพร

Posted by Gang of 4wd on 18:16 in
ลูกประคบ(1)ทำจากสมุนไพรภูมิปัญญาพื้นบ้านประคบแก้ปวดเมื่อยหมุนเวียนโลหิต
ลูกประคบ(2)กรรมวิธีการทำแสนง่ายโทร*1677กด2หรือที่เว็บไซต์รักบ้านเกิด

ลูก ประคบสมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำสมุนไพรหลายชนิดที่มีสรรพคุณแตก ต่างกันนำมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดแล้วนำมาหั่นหรือสับให้เป็นชิ้นตามขนาด ที่ต้องการ ตำพอแตก ใช้สดหรือทำให้แห้ง นำมาห่อหรือบรรจุรวมกันในผ้าให้ได้ รูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงกลม สำหรับใช้นาบ หรือกดประคบส่วนต่าง ๆ ของร่าง กาย เพื่อทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ถ้าเป็นลูกประคบสมุนไพรแห้ง ก่อนใช้ต้อง นำมาพรมน้ำแล้วทำให้ร้อนโดยนึ่ง ช่วยรักษาอาการต่างๆในร่างกายได้เป็นอย่าง ดี
ลักษณะทั่วไปของลูกประคบสมุนไพร
ลูกประคบสมุนไพรต้องห่อผ้าปิดสนิทรูปทรงต่าง ๆ ภายในบรรจุสมุนไพรสดหรือแห้งหลายชนิดรวมกัน กรณีทำเป็นรูปทรงกลมปลายผ้าต้องรวมแล้วมัดให้แน่น ทำเป็นด้ามจับ ต้องมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพรที่ใช้



สูตรสมุนไพร: วัตถุดิบสำหรับทำลูกประคบ 2 ลูก

1.หัวไพล ½ กิโลกรัม สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ลดอาการอักเสบ

2.ผิวมะกรูด 2 ขีด สรรพคุณ แก้ลม วิงเวียนศีรษะ

3.ตะไคร้บ้าน 1 ขีด สรรพคุณ เพิ่มให้มีกลิ่นหอม

4.ใบมะขาม 1 ขีด สรรพคุณ แก้อาการคันและบำรุงผิว

5.ขมิ้นชัน 1 ขีด สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง ลดอาการอักเสบ

6.ใบส้มป่อย 1 ขีด สรรพคุณ บำรุงผิว

7.การบูร 2 ช้อนโต๊ะ สรรพคุณ เพิ่มกลิ่นและบำรุงหัวใจ

8.เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ สรรพคุณ ช่วยดูดความร้อนและดูดซึมตัวยาผ่านผิวหนังได้ดี

วัสดุ/อุปกรณ์อื่นๆ:
-ผ้าสำหรับห่อลูกประคบ ต้องเป็นผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบที่มีเนื้อผ้าแน่นพอที่จะป้องกันไม่ให้สมุนไพรร่วงออกมาได้

-สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบต้องหั่นหรือสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ สด/แห้ง ต้องไม่มีราปรากฏให้เห็นเด่นชัด และต้องมีพืชสมุนไพรหลักที่มีน้ำมันหอมระเหยอย่างน้อย 3 ชนิด เช่น ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ และผิวหรือใบมะกรูด กลุ่มสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เช่น ใบมะขาม ใบส้มป่อย และกลุ่มสารที่มีกลิ่นหอม จะระเหยออกมาเมื่อถูกความร้อน เช่น การบูร พิมเสน และเกลือ ช่วยดูดความร้อน
-หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบและจานรองลูกประคบ



-เชือกด้ายสำหรับมัดผ้าห่อลูกประคบ
วิธีการทำลูกประคบ
1.นำหัวไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด ล้างทำความสะอาด นำมาหั่นหรือสับให้เป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการตำพอหยาบ ๆ

2.นำใบมะขาม ใบส้มป่อย ผสมกับสมุนไพรในข้อ 1 เสร็จแล้วใส่เกลือและการบูร คลุกเคล้าให้เข้ากัน แต่อย่าให้แฉะเป็นน้ำ จากนั้นนำไปผึ่งลมให้แห้ง

3.แบ่งสมุนไพรที่คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเป็นส่วนเท่า ๆ กัน โดยใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบมัดด้วยเชือกให้แน่นสำหรับนำไปใช้ งาน

วิธีการใช้ลูกประคบสมุนไพร
-นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งประมาณ 15-20 นาทีเพื่อให้สมุนไพรได้กระจายตัวออกมา เมื่อลูกประคบร้อนได้ที่แล้ว ก่อนนำมาใช้ประคบควรมีการทดสอบความร้อนโดยแตะที่ใต้ท้องแขนหรือหลังมือก่อน และในช่วงแรกที่ลูกประคบยังร้อนอยู่ ต้องประคบด้วยความรวดเร็ว ไม่วางลูกประคบไว้บนผิวหนังนาน ๆ เพียงแตะลูกประคบแล้วยกขึ้น แต่เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงสามารถวางลูกประคบตามร่างกายได้นานขึ้นพร้อม กับกดคลึงจนกว่าลูกประคบคลายความร้อน แล้วจึงเปลี่ยนลูกประคบไปใช้ลูกใหม่แทน (ลุกประคบที่ใช้แล้วสามารถนำไปนึ่งใช้งานต่อได้)

ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร
1.กระตุ้นหรือเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

2.ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวดเมื่อย

3.ลดการติดขัดของข้อต่อบริเวณที่ประคบและทำให้เนื้อเยื่อ พังผืดยืดตัวออก

4.ลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือบริเวณข้อต่อต่าง ๆ หลังจาก 24-48 ชั่วโมง

………………………………………………………………
ขอบพระคุณข้อมูลจาก : คุณพ่อศรีเทพ คชนะ ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนอ่างแก้ว(เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน) บ.คำม่วงไข่ ต.โนนเปือย อ.กุดชุม จ.ยโสธร


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี (IDF1869)

0 Comments

แสดงความคิดเห็น

ช่วยกันออกข้อคิดเห็นติชมด้วยครับ