0

เทคนิคและวิธีการทำชั้นวางก้อนเชื้อเห็ดแบบแขวนลอย

Posted by Gang of 4wd on 17:29 in
เห็ด(1)ทำชั้นวางก้อนเชื้อแบบแขวนลอย ลงทุนน้อย กำไรมาก เก็บผลผลิตได้นาน
เห็ด(2)แนวคิดจากคุณอุทัย ชุมทอง จ.พัทลุง ศึกษาข้อมูลการทำโทร*1677กด2

จาก สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันนี้ ส่งผลกระทบทำให้พืชภัณฑ์ธัญญาหาร ทางการเกษตรของเกษตรกรเกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น โรค รา แมลงศัตรูพืช ที่ ทำลายพืชชนิดต่างๆจนเกิดความเสียหายจำนวนมาก แต่คุณอุทัย ชุมทอง เกษตรกร ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านกรรมวิธีการเพาะเห็ด หลายชนิดเป็นหลัก ณ บ้านเขา จันทร์ 2 หมู่ 6 ต.หนองธง อ.ป่าบอน ได้พบปัญหาหลายอย่างเกี่ยวกับการเพาะ เห็ด เช่น โรค เชื้อราและแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆที่เข้ามาทำลายในโรงเรือน เพาะเห็ด จากปัญหาดังกล่าวทำให้คุณอุทัยได้พบวิธีแก้และป้องกันกระบวนการ เพาะเห็ด แต่ปัญหาที่พบจากการเพาะเห็ดในโรงเรือน เกิดจากโรค ราต่างๆ เพราะ การวางก้อนเชื้อเห็ดบนพื้นราบจะเกิดปัญหาดังกล่าวได้ง่าย คุณอุทัย จึงหา วิธีแก้ ซึ่งใช้ภูมิปัญญาของตนเองที่คิดค้นขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาและลดการ เกิดโรค ราต่างๆแบบลดต้นทุน มาเป็นการทำชั้นวางก้อนเชื้อเห็ดแบบแขวนลอย โดย มีรายละเอียดการแก้ปัญหาที่สำคัญดังนี้



วัสดุ อุปกรณ์
1. ก้อนเชื้อเห็ด

2. เชือกไนล่อน

3. ขวดน้ำดื่มพลาสติก


วิธีการทำ
-นำเชือกไนล่องมาตัดตามยาวประมาณ 1.50 เมตร จำนวน 4 เส้น แล้วมัดจุกให้แน่นรวมกันบริเวณปลายของเชือก
-ทำการตัดหัว ตัดท้ายของขวดน้ำดื่มพลาสติกให้ได้ขนาดเท่าๆกัน แล้วทำให้ขวดแบนเป็นแผ่น พร้อมทั้งเจาะรูที่มุมทั้ง 4 ด้าน เพื่อไว้ใส่เชือกไนล่อนและไว้เป็นตัวรับน้ำหนักของก้อนเชื้อเห็ดที่นำไปวาง
-นำเชือกไนล่อนที่เตรียมเสร็จแล้วไปแขวนในโรงเรือนเพาะเห็ดให้ได้ระยะห่าง เท่าๆกัน พร้อมทั้งนำก้อนเชื้อเห็ดไปวางซ้อนทับกัน แต่เมื่อวางก้อนเชื้อเห็ดไปได้ประมาณ 2 ก้อนให้นำแผ่นขวดพลาสติกที่เจาะรูแล้วใส่ทับลงไปหรือกันเอาไว้เป็นช่วงๆ เพื่อลดแรงอัดและช่วยรับน้ำหนักของก้อนเชื้อเห็ดที่วางซ้อนกัน ซึ่งในหนึ่งแผงของชั้นวางแบบแขวนลอยสามารถวางก้อนเชื้อเห็ดได้ประมาณ 14-16 ก้อน


ข้อดีของการทำชั้นวางก้อนเชื้อเห็ดแบบแขวนลอย
1. สามารถป้องกันและกำจัดโรคที่เกิดกับเห็ดได้อย่างเห็นได้ชัด
2. ใช้พื้นว่างในโรงการเพาะให้เป็นประโยชน์
3. ง่ายต่อการจัดการและการเก็บเกี่ยวดอกเห็ด
4. ในพื้นที่3x6 เมตร สามารถเพาะเห็ดได้ประมาณ 1,700-2,000 ก้อน
5. ลงทุนน้อย กำไรมาก เก็บผลผลิตได้นาน


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.นครศรีธรรมราช


0 Comments

แสดงความคิดเห็น

ช่วยกันออกข้อคิดเห็นติชมด้วยครับ