0

การทำปุ๋ยจากฟางข้าวช่วยเสริมธาตุอาหารในนา

Posted by Gang of 4wd on 18:24 in
ข้าว(1)การทำปุ๋ยจากฟางข้าวช่วยเสริมธาตุอาหารในนาดินทรายอากาศถ่ายเทดี
ข้าว(2)นำฟางข้าวผสมกับปุ๋ยคอก+เศษอาหารหมักนานเดือนครึ่งการใช้500กก./ไร่

คุณ เสรี ดาหาญ 081-546-8330 นักวิชาการเกษตร 8 ประจำศูนย์วิจัยข้าว สกลนคร ให้คำแนะนำผ่านทางรายการร่วมด้วยช่วยกัน เรื่อง การทำปุ๋ยหมัก ชีวภาพบำรุงนาดินทราย เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น



*** การบำรุงดินในนาข้าวที่เป็นทราย จำเป็นต้องมีการเตรียมดินโดยใช้อินทรียวัตถุผสมเข้าไปด้วยเพื่อให้ดินอุ้ม น้ำมากขึ้นเพื่อให้ช่วยถ่ายเทอากาศ ที่หาง่ายที่สุดคือใช้ฟางข้าวผสมเข้าในดิน ฟางข้าวมีธาตุอาหารน้อยถ้ามาทำเป็นปุ๋ยหมักจะเพิ่ม ไนโตรเจนอีก 2% โดยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารเพราะดินทรายจะ ไม่มีอินทรียวัตถุให้ทำต่อเนื่อง 2-3 ปี จะทำให้ดินดีขึ้น ถึงใส่ปุ๋ยเคมีก็ไม่ได้ประโยชน์เพราะดินไม่อุ้มน้ำและไม่มีธาตุอาหาร ไถกลบฟางที่นวดแล้ว และฟางที่เหลือจากเลี้ยงสัตว์แล้ว

วิธีการทำปุ๋ยหมักจากฟางเพื่อบำรุงนาดินทราย

1.นำฟางมากองในที่ร่มสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ทำเป็นคอกไว้ยิ่งดี
2.ปุ๋ยคอกวางทับกันประมาณ 2-3 เซนติเมตร
3.เศษพืช เปลือกผลไม้ต่างๆเศษใบไม้ต่างๆ / แกลบด้วยผสมลงไป
4.ใช้เวลาประมาณ เดือนกว่าๆ กองฟางจะย่อยสลาย วิธีสังเกตว่าย่อยสลายหรือยังให้ใช้มือแหย่ดู ถ้ายังร้อนอยู่แปลว่ายังย่อยสลายไม่หมด เมื่อย่อยหมดแล้วจึงไปหว่านในแปลงนาที่เป็นดินทราย เพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน
5.ฟาง 1 ตัน เมื่อย่อยสลายแล้วจะได้ประมาณ 500 กิโลกรัม
6.ก่อนดำนา 15 วัน ใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-8 ในนาดินทราย ประมาณ 20-25 กก./ไร่ + ปุ๋ยหมักฟาง 500-1,000 กก/ไร่ ใส่ประมาณ 1-3 ปี ดินก็จะดีขึ้น
7.ปรับปรุงดินไปประมาณ 3 ปี ก็จะเริ่มเห็นผลแล้วจึงลดปริมาณปุ๋ยเคมีลงหรือใส่เท่าเดิมก็ได้
8.ปลูกปุ๋ยพืชสด
วิธีการ ใช้โสนแอฟริกา ปลูกในนาดอน เอาปุ๋ยคอกรองพื้น ปลูกแบบเก็บเมล็ดพันธุ์ ปลูกพฤษภาคม ประมาณ 45 วันไถกลบได้เลย ถ้าช้ากว่านั้นต้นโสนจะแข็งและควรปล่อยให้เน่าสลายก่อนหลังจากไถกลบประมาณ 15 วันแล้วจึงทำนาปกติ สัดส่วน 4-5 กก/ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 5-6 ตัน ต่อไร่ ในโสนแอฟริกัน มีสาร P กับ K น้อย ให้ไนโตรเจน 2%
***ปุ๋ยเคมีไม่ได้ทำให้ดินแข็ง แต่ปุ๋ยเคมีให้ธาตุอาหาร อยากให้ได้ผลผลิตดีต้องอยู่ที่การบำรุงดินให้ธาตุอาหารเพื่อเพิ่มประโยชน์ใน ดิน***


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี

0 Comments

แสดงความคิดเห็น

ช่วยกันออกข้อคิดเห็นติชมด้วยครับ