0

การบำรุงพื้นที่ดินเค็ม

Posted by Gang of 4wd on 17:44 in
ข้าว(1)การบำรุงพื้นที่ดินเค็มปลูกโสนอัฟริกันไถกลบใส่ปุ๋ยคอก400กก./ไร่
ข้าว(2)ก่อนทำการหว่านเมล็ดพันธุ์หากเค็มมากใส่โดโลไมต์ 500 กก./ไร่


นายมานะ เซียงสันเทียะ เกษตรกรบ้านโคกพรม ม.5 ต.โนนไทย อ.โนน ไทย นครราชสีมา มีพื้นที่สำหรับการปลูกข้าว 24 ไร่ ได้ทำการขุดคลองล้อม ที่นาซึ่งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติฟื้นฟูปฐพีไทย และยังได้รับรางวัลชนะ เลิศ เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนาดีเด่น ประจำปี 2552 พื้นที่ปลูกข้าว พันธุ์มะลิ 105 เริ่มต้นในการทำนาข้าวแบบอินทรีย์มา 9 ปี โดยการทำปุ๋ย-น้ำ หมักใช้เอง ในการเริ่มต้นทำนาข้าวจะมีปัญหามาก เนื่องจากในพื้นที่มี สภาพดินเค็ม และยังเป็นนาที่อาศัยน้ำธรรมชาติอย่างเดียว แต่ผลผลิตที่ได้ เฉลี่ยไร่ละ 600 กิโลกรัม .. คุณมานะ ได้แนะนำเกษตรกรถึงการบำรุงนาข้าว อินทรีย์ในดินเค็ม



การปลูกข้าวและการบำรุงข้าวในพื้นที่ดินเค็ม สิ่งที่ต้องทำคือ

1.เตรียมดินในเดือนมกราคม และทำการหว่านปุ๋ยพืชสด (ปุ๋ยพืชสดที่เหมาะในการปรับปรุงดินค็มก็คือโสนแอฟริกัน เพราะมีความทนทานต่อสภาพดินเค็ม)
2.หลังจากที่หว่านโสนแอฟริกันได้ 60 วัน ก็จะเริ่มออกดอก ให้ทำการไถกลบตอซังพร้อมกับโสนแอฟริกัน
3.ให้ตากดินไว้จนถึงเดือนเมษายน จึงทำการหว่านปุ๋ยหมักมูลสัตว์ปริมาณ 400 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ หลังจากหว่านปุ๋ยแล้วให้ทำการไถแปรดินไปพร้อมกับปุ๋ยหมักมูลสัตว์
4.เมื่อเตรียมดินเสร็จพร้อมรอที่จะปลูกข้าว ซึ่งในสภาพดินที่มีความเค็มเล็กน้อยจะปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ได้ดี ข้าวจะมีกลิ่นหอมมากกว่าการปลูกในดินทั่วไป และหากดินมีค่าความเป็นกรดมากให้นำโดโลไมต์ มาใช้ในอัตราส่วนโดโลไมต์ 500-1000 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่
การทำปุ๋ยหมักมูลสัตว์
วิธีการ ให้นำเศษใบไม้ หญ้า ฟางต่างๆ มากองแล้วเกลี่ยไว้ในตารางขนาด 2x3 เมตรให้มีความสูง 30 cm. หลังจากนั้นนำมูลสัตว์กองทับชั้นบนสูง 30 cm.แล้วนำน้ำหมักชีวภาพมาราดบนกองวัสดุให้ชุ่มแล้วทำการคลุมด้วยผ้าพลาสติก สีดำคลุมไว้ ครบ 15 วันแรกให้ทำการกลับกองปุ๋ย หมักทิ้งไว้นาน 3 เดือน สามารถนำไปใช้ได้ (การหมักปุ๋ย ให้เริ่มทำการหมักก่อนที่จะทำการเก็บเกี่ยวเพื่อเตรียมไว้สำหรับการบำรุงนา ข้าวในรอบการปลูกหน้า)
การทำน้ำหมักชีวภาพ นำมาผสมกองปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน และบำรุงนาข้าวได้ดีช่วงก่อนข้าวออกรวง
วัตถุดิบคือ
1.หอยเชอรี่ หรือซากปลาที่ตายแล้ว 3 ส่วน
2.กากน้ำตาล 2 ส่วน
3.น้ำ 1 ส่วน
นำมาหมักทิ้งไว้ในร่มนาน 3 เดือน สามารถนำไปใช้ได้ นำไปรดในกองปุ๋ยหมัก น้ำหมัก 1 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.นครราชสีมา

0 Comments

แสดงความคิดเห็น

ช่วยกันออกข้อคิดเห็นติชมด้วยครับ