0

วิธีการบำรุงรักษาดินปรับสภาพดิน

Posted by Gang of 4wd on 19:40 in
ข้าว(1)วิธีการบำรุงรักษาดินปรับสภาพดินให้เป็นกลางเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน
ข้าว(2)ใช้โสนอัฟริกันปลูกในนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวอัตรา5กก./ไร่ปลูก60วัน



ลุงจุ๊ หรือ ลุงจุรีรัตน์ หวลถนอม ชาวนาอายุ 69 ปี ซึ่งเป็นผู้ที่ทำ การเกษตรแต่ไม่เคยหยุดที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทำให้ปรับสภาพที่นาที่ เป็นดินเค็ม และมีค่า PH ต่ำกว่า 3 ให้กลับฟื้นคืนชีพจนสามารถทำให้พื้นที่ ดังกล่าว ปลูกข้าวได้ นอกจากการใช้ปูนมาร์ลในการปรับค่า PH ของดิน ให้เหมาะกับการปลูกข้าวได้แล้ว ลุงจุ๊ ก็ได้นำโสนอัฟริกันมาปลูกและไถกลบในพื้นที่นา เนื่องจากโสนอัฟริกันมีความทนและในช่วงหน้าฝนสามารถโตหนีน้ำได้เพราะขนาดของ ต้นมีความสูงและโตเร็วในช่วงหลัง 30 วันแรกและง่ายกว่าการปลูกพืชตระกูลถั่วชนิดอื่น ทำให้สนใจที่จะปลูกโสนแอฟริกันเพื่อพลิกฟื้นดิน และที่สำคัญ การไถกลบโสนอัฟริกันในนาข้าวยังมีประโยชน์ ในการปรับปรุงและเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุของธาตุอาหารพืชกลับคืนสู่ดิน และยังเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับความเค็มของดินอีกด้วย และยังสามารถรักษาระดับความกรดเป็นด่าง ของดิน เนื่องจากอินทรียวัตถุจากวัสดุเศษพืช มีคุณสมบัติในการเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้ค่า PH ของดิน อยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นหรือเป็นกลาง และการไถกลบโสนอัฟริกันในพื้นที่นาอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีก ด้วย
นอกจากนี้ การที่ปลูกและไถกลบโสนอัฟริกันในพื้นที่นานั้น ทำให้ลดต้นทุนเรื่องปุ๋ยในนาข้าวได้ และการที่ปลูกโสนอัฟริกันนั้นใช้เวลาเพียง 2 เดือน คือ ช่วงเม.ย.-พ.ค. นั้นทำให้ชาวนามีเวลาปลูกพืชหลังนา เพื่อสร้างรายได้เสริมอีกด้วย



วันนี้ลุงจุ๊ จึงได้แนะนำวิธีการปลูกโสนอัฟริกันเพื่อเป็นปุ๋ยในนาข้าวให้กับพี่น้องเกษตรกร
วิธีการปลูกโสนอัฟริกันในนาข้าว
1.เตรียมเมล็ดพันธุ์
2.ไถพลิกหน้าดินในแปลงนาก่อนหว่านเมล็ด
3.นำเมล็ดโสนไปหว่านในช่วงต้นเดือนเมษายน
4. หว่านโสนแอฟริกันในปริมาณ 5 กิโลกรัม/ไร่
5. หลังจากปลูกโสนแอฟริกัน อายุประมาณ 60 วัน ให้ทำการไถกลบ และทำนาต่อได้เลย


หมายเหตุ :: การเก็บพันธุ์โสนแอฟริกัน สามารถปลูกไว้ในพื้นที่ว่าง และเก็บฝักที่แก่ไว้ทำพันธุ์ต่อไป ซึ่งสามารถเก็บได้ นาน 1-2 ปี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : คุณจุรีรัตน์ หวลถนอม168 หมู่ 2 ต.หนองเสม็ด อ.เมือง จ.ตราด โทรศัพท์ 086-836-7478
ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * ๑๖๗๗
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.จันทบุรี

0 Comments

แสดงความคิดเห็น

ช่วยกันออกข้อคิดเห็นติชมด้วยครับ